ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ โดยพ่อทั่งและแม่ใหญ่ (พยัคจันทร์) ท่านเป็นคนนครราชสีมาที่ได้เข้ามาบุกเบิกในพื้นที่ตำบลซับจาปา พื้นที่แถบนี้เป็นป่าชายขอบดงพญาเย็นทิวเขาพังเฮยในเหวตาบัว “ซับจำปาเมืองอารยะธรรมโบราณ อดีตชุมชนเสือลุ่มน้ำป่าสัก ตำบลลดเมาสร้างสรรค์สุขภาวะ” ที่นี้เคยเป็นเมืองโบราณแห่งอารยะธรรมลุ่มน้ำป่าสัก มีอายุประมาณสามพันปีมาแล้ว มีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ๒๕๑๓ และเมื่อปี ๒๕๔๒ มีการค้นพบต้น “ดอกจำปี” ที่ป่าพุของชุมชนซึ่งพบว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ พบเห็นแห่งเดียวในโลกและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพฯ ว่า “จำปีสิรินธร” นอกจากนี้ยังพบว่าตำบลแห่งนี้ในอดีตคือถิ่นชุมชนเสือหรือที่อยู่อาศัยของชุมเสือในอดีตก่อนจะมีการตั้งเป็นชุมชนและเรียกกันว่าตำบลซับจำปา ปัจจุบันเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุจราจร (ศปง.แอลกอฮอล์) และจัดการเรียนรู้ดำเนินโครงการชุมชนยุคใหม่ร่วมแรงร่วมใจไร้แอลกอฮอล์
ตำบลซับจำปา ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของอำเภอท่าหลวงในอดีตพื้นที่ตำบลซับจำปามีต้นยางนาเป็นจำนวนมาก ผู้บุกเบิกชุมชนได้ขี่วัวเทียมเกวียนลัดเลาะตามเชิงภูเขา มาถึงบ้านซับจาปาเพื่อมากรีดยางนาไปทำไต้จุดไฟเนื่องจากสมัยก่อนไม่มีน้ำมัน จึงใช้น้ำมันยางผสมกับไม้ผุ ทำเป็นไต้จุดไฟและนำไปขาย ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อมกราคม ๒๕๓๙ ปัจจุบันมี ๗ หมู่บ้าน ๑,๕๐๐ ครัวเรือน ประชากร ๔,๓๑๐ คน มีลักษณะเป็นชุมชนเกษตรกรรมมีการปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงโคนมและโคเนื้อ เนื้อ ทำนา และรับจ้าง รับราชการ พนักงานลูกจ้างในหน่วยงานราชการ พนักงานลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างในบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์อาหารสัตว์ ในป่าพุแห่งนี้มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินจึงทำให้ป่าแห่งนี้มีต้นไม้เกิดขึ้นนานาพรรณรวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยของต้นจำปีสิรินธรซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นแห่งเดียวในโลก ชุมชนได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณซับจำปาเป็นที่เก็บและแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อการศึกษาเรียนรู้รวมทั้งอนุรักษ์ป่าพุป่าจำปีสิรินธร ๙๖ ไร่ ไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติระบบนิเวศของป่าพุและเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นจุดศูนย์รวมของคนในชุมชนซับจำปาดั่งคำขวัญที่มีว่า “เมืองเก่าโบราณ เนินฐานคูเมือง ลือเลื่องน้ำซับ คุณค่านับอนันต์ ไม้หลากพันธุ์ป่า ชุมชน ค่ามากล้น จำปีสิรินธร”
คนพื้นถิ่นตำบลซับจำปา มีหลากหลายชาติพันธุ์ ได้แก่คนไทย คนไทโคราช ลาว ลาวพวน เนื่องจากในอดีตซับจำปาพื้นที่เป็นป่ารกทึบจึงเป็นสถานที่เหมาะสมที่มีผู้คนอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่หรือเพื่อหลบหนีคดีความจึงได้ชื่อว่าเป็น “ดงเสือ” ในปัจจุบันยังคงเป็นชุมชนเกษตรกรรมมีการปลูกพืชไร่หมุนเวียนตลอดปีรวมทั้งมีแรงงานรับจ้างนอกพื้นที่เข้ามาเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดซึ่งหลังจากเลิกงานในไร่แล้วจะมีการดื่มเหล้าเป็นประจำเรียกกันว่าเพื่อแก้เมื่อย แอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มดื่มคือเหล้าขาวมีสถิติการดื่มสุราถึงร้อยละ ๓๗.๓๙% ของจำนวนประชากรในตำบล และพบว่าเหล้าเบียร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ใช้กันมากในงานศพไม่เว้นแม้แต่งานศพที่จัดขึ้นในวัด รวมถึงการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญงานมงคลงานบวชงานแต่งและชีวิตประจำวัน ส่งผลถึงปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังควบคุมสติอารมณ์ การทะเลาะวิวาท ครอบครัวแตกแยกสูญเสียอาชีพและรายได้ มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการบาดเจ็บพิการเสียชีวิต สูญเสียทรัพย์สินและเกิดรายจ่ายในครอบครัวมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ตำบลมีการคมนาคมด้วยรถบรรทุกหนักวิ่งเข้าออกมาก สภาพของถนนเป็นทางโค้งอันตราย มากถึง ๑๓ จุด ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากและสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุก็มาจากการดื่มแอลกอฮอล์
องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ตระหนักในปัญหาสุขภาวะจึงเริ่มขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะตั้งแต่ปี๒๕๕๐ ริเริ่มโครงการลดละเลิกเหล้าในชุมชนโดยเชิญชวนชาวบ้านซึ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน ๔๐ คน ลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนและประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล ต่อมาปี๒๕๖๐ ได้ตัดสินใจได้เข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ผลจากการดำเนินกิจกรรมโครงการชุมชนยุคใหม่ร่วมแรงร่วมใจไร้แอลกอฮอล์ของคณะทำงานตำบลวับจำปาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดบุคคลและผู้นำต้นแบบเลิกเหล้า เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน มีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการลดละเลิกแอลกอฮอล์ และเกิดมาตรการสังคมควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อดีต่อระบบสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อมชุมชนน่าอยู่ ปลอดภัย ลดอุบัติเหตุและการมีส่วนร่วมเป็นการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน กล่าวคือ การพัฒนาบุคคลต้นแบบ ได้กลายเป็นแบบอย่างและเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจในการลดละเลิกแอลกอฮอล์ การดำเนินงานในระยะที่ผ่านมามีการเชิดชูคนที่เป็นต้นแบบลดละเลิกเป็นจำนวนมาก เป็นการสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนให้เห็นในเชิงประจักษ์และนำพาคนในชุมชนสู่การลดละเลิกการดื่ม แอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุ รวมทั้งลดปัญหาการเจ็บป่วยพิการและการเสียชีวิตได้จริง เกิดการพัฒนา คุณภาพชีวิตพื้นฐานของประชุกรในชุมชนท้องถิ่นตำบลซับจำปา การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนและคนกลุ่มอื่นๆ ผลจากการดำเนินงานรณรงค์และกิจกรรมเชิงรุกได้ก่อให้เกิดพื้นที่แสดงศักยภาพของเด็กและเยาวชน สร้างความสนใจต่อประเด็นปัญหาของชุมชนใน กลุ่มเยาวชนมากขึ้นและเกิดการเรียนรู้ผ่านการทำงานวิจัย กระบวนการดังกล่าวเป็นพลังสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมชุมชนอย่างยั่งยืนในระยะยาว เกิดกระบวนการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุจราจร กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะหลักของตำบล และสามารถขยายผลให้เกิดแผนงานและงบประมาณในการขับเคลื่อนการลดละเลิกและควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ได้ร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกับกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ทำงานควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่ตำบล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลบ้านซับจำปามีความตระหนักและเข้าใจถึงผลกระทบจากแอลกอฮอล์ อีกทั้งเพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีแรงบันดาลใจในการเข้าร่วมโครงการสร้างบุคคลต้นแบบ ครอบครัวสร้างสุขลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รกิจกรรม้านค้าคุณธรรมและการสร้างเครือข่ายร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ตำบลซับจำปามีต้นทุนทางสังคมมากมายไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมเมืองโบราณซับจาปา, ป่าจำปีสิรินธร นับว่าเป็นฐานรากทางวัฒนธรรมอันเป็นทุนทางสังคมดั้งเดิมของชุมชน นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยยึดโยงคนในชุมชนและความรู้สึกร่วมเป็นชุมชน โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ เป็นแรงจูงใจที่ทำให้ทุกคนเกิดสานึกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนในชุมชน การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดความสุขในการทำงานและสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน รวมถึงปัจจัยสำคัญอีกหมายด้านซึ่งเป็รศักยภาพของชุมชนที่จะนำไปสู่การทำงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้ให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน