“ในขณะเดียวกัน ก็มีกระแสที่ต้องการทำความเข้าใจ จึงมีการผลักดันหลายอย่าง เราเลือกชนบทเพราะอยากรู้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงในชนบทที่ทำให้เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา ซึ่งเขาอยู่ใน high mobility อยู่ในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ในงานของอาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล และอาจารย์เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ชี้ให้เห็นว่า พี่น้องในชนบทเคลื่อนตัวเองและเคลื่อนเร็วขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเคลื่อน ได้มาพร้อมกับ “การเมืองเรื่องความหวัง” (Politics of hope) ว่า “ฉันจะหลุดจากความเป็นชาวนาที่ยากจน” สิ่งสำคัญคือ ถ้าหากเราไม่เข้าใจตรงนี้ เราจำเป็นต้องแสวงหาความเข้าใจ”
ความเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย : บนความเคลื่อนไหวสู่ ปชต.
14 ม.ค. 2558
อ.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าโครงการวิจัยดังกล่าวได้นำเสนอหัวข้อ “ความเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย: บนความเคลื่อนไหวสู่ประชาธิปไตย”
ในการสัมมนาหัวข้อ “ความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายและซับซ้อนของสังคมไทยจากวิธีคิดและวิธีการทางประวัติศาสตร์” จัดโดยสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ห้อง HB7801 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการศึกษาวิจัย “ความเปลี่ยนแปลง “ชนบท”ในสังคมไทย: บนความคลื่อนไหวสู่ประชาธิปไตย Changes in Thai “Rural” Society: Democracy on the move” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สกอ.
“ในขณะเดียวกัน ก็มีกระแสที่ต้องการทำความเข้าใจ จึงมีการผลักดันหลายอย่าง เราเลือกชนบทเพราะอยากรู้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงในชนบทที่ทำให้เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา ซึ่งเขาอยู่ใน high mobility อยู่ในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ในงานของอาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล และอาจารย์เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ชี้ให้เห็นว่า พี่น้องในชนบทเคลื่อนตัวเองและเคลื่อนเร็วขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเคลื่อน ได้มาพร้อมกับ “การเมืองเรื่องความหวัง” (Politics of hope) ว่า “ฉันจะหลุดจากความเป็นชาวนาที่ยากจน” สิ่งสำคัญคือ ถ้าหากเราไม่เข้าใจตรงนี้ เราจำเป็นต้องแสวงหาความเข้าใจ”
แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ : www.prachatai.com
ต้องการอ่านเพิ่มเติม : http://www.prachatai.com/journal/2015/01/57389