พวกเราตัวแทนขององค์กรที่หลากหลาย และผู้ทำงานเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติให้กับ ผู้บริโภค และผู้ผลิตอาหารขนาดย่อย รวมทั้งเกษตรกร ชาวพื้นเมือง
ณ ศุนย์ ไนลีนิ (Nyeleni) ประเทศมาลี : 28 กุมภาพันธ์ 2558
พวกเราตัวแทนขององค์กรที่หลากหลาย และผู้ทำงานเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติให้กับ ผู้บริโภค และผู้ผลิตอาหารขนาดย่อย รวมทั้งเกษตรกร ชาวพื้นเมือง ชุมชน ครอบครัวเกษตรกร แรงงานในชนบท ผู้ทำปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์แบบปล่อย ชาวประมง และคนเมือง จำนวน 300 คน จาก 45 ประเทศ เมื่อคิดคำนวณแล้ว พวกเราผลิตอาหารถึงร้อยละ 70 ของอาหารที่เลี้ยงมนุษยชาติ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ลงทุนเบื้องแรกสุดในด้านการเกษตรและยังเป็นผู้สร้างงานและการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานในโลกใบนี้อีกด้วย
พวกเรามารวมกันระหว่างวันที่ 24 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ศูนย์ ไนลีนี เมือง เซลิงกัว (Selingue) ประเทศมาลี เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานร่วมกันว่าการทำเกษตรแบบเกษตรนิเวศ คือกุญแจสำคัญสำหรับการสร้างอธิปไตยทางอาหาร เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ร่วมกันในการส่งเสริมการทำเกษตรนิเวศ และปกป้องระบบเกษตรนิเวศจากธุรกิจแสวงหาผลกำไร พวกเรารู้สึกขอบคุณพี่น้องชาวมาลีที่ได้ต้อนรับเราอย่างอบอุ่นในประเทศที่สวยงามแห่งนี้ และพวกเรายังได้เรียนรู้จากพวกเขาจาก การสนทนาที่อยู่บนพื้นฐานของการรับฟังด้วยความเคารพ และการตัดสินใจด้วยกันในกลุ่ม พวกเราได้ยืนในจุดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพี่น้องชาวมาลีที่ได้ดิ้นรนเพื่อปกป้องดินแดนของพวกเขาจากการฉกฉวยที่ดิน ซึ่งหลายๆประเทศได้เผชิญอยู่ในขณะนี้ ถ้าการทำเกษตรแบบเกษตรนิเวศหมายถึงการที่ทำให้พวกเราได้มาอยู่ร่วมกันในวัฏจักรชีวิต นั่นก็หมายความว่าเราได้อยู่ร่วมในวัฎจักรของการต่อสู้ดิ้นรนนี้ด้วย
ก่อรูปจากฐานเดิม มุ่งสู่อนาคต
ประชาชนของเรา ตัวแทน องค์กรละชุมชนต่างๆ ได้เดินทางมาไกลมากเพื่อการกำหนดอธิปไตยทางอาหาร ซึ่งเป็นเหมือนธงของการเรียกร้องความยุติธรรม และขยายกรอบการทำงานที่ใหญ่ขึ้นสำหรับการทำงานด้านเกษตรนิเวศ พวกเราได้พัฒนาระบบการผลิตที่บรรพบุรุษได้ทำมาเป็นระยะเวลานับล้านๆ ปี และในช่วง 30 ถึง 40 ปีที่ผ่านมา พวกเรามาถึงจุดที่สามารถเรียกมันได้ว่าเป็นการเกษตรในรูปแบบเกษตรนิเวศ และประสบความสำเร็จทั้งด้านการปฏิบัติและการผลิต ระหว่างเกษตรต่อเกษตรกร และกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมินิเวศในโรงเรียนการฝึกอบรม ทั้งในเชิงทฤษฏี เชิงเทคนิคและการเชิงนโยบาย
ในปี พ.ศ.2550 พวกเราหลายคนได้มาร่วมการประชุมเรื่องการสร้างอธิปไตยทางอาหาร (the Forum for Food Sovereignty ณ เมืองไนลีนิ แห่งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและขยายองค์กรพันธมิตร และขยายความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องอธิปไตยทางอาหาร โดยการสร้างกลุ่มจากตัวแทนที่มาจากหลากหลายองค์กร และชุมชน เช่นเดียวกับที่พวกเราที่มาในคราวนี้ ก็เพื่อร่วมกันเติมคุณค่าให้กับระบบเกษตรนิเวศโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตอาหาร ผู้บริโภค ชุมชุมเมือง สตรี เยาวชน และกลุ่มอื่นๆ การเคลื่อนไหวของพวกเราในวันนี้จะได้นำมาซึ่งก้าวย่างใหม่ทางประวัติศาสตร์
รูปแบบที่หลากหลายที่เจ้าของที่ดินรายย่อยใช้ในการผลิตอาหาร โดยใช้กระบวนการทางนิเวศวิทยาทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม อัตลักษณ์ทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม และยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชนบท และการทำเกษตรแบบเกษตรนิเวศจะทำให้เจ้าของที่ดินรายย่อยจะยังคงรักษาเกียรติภูมิของตนเองเอาไว้ได้
การเอาชนะวิกฤตการณ์
พวกเรามองว่าเกษตรนิเวศเป็นรูปแบบสำคัญที่จะให้ต่อกรกับระบบเศรษฐกิจที่มองเรื่องผลกำไรอยู่เหนือกว่าชีวิตมนุษย์ ระบบเศรษฐกิจที่ว่านี้ มันจะเปลี่ยนอาหารที่แท้จริงไปเป็นระบบอาหาร( Food system) และวิถีชีวิตแบบชนบทจะถูกทำลายลงโดยอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และระบบแบบนี้ก็ถูกเรียกว่า ปฏิวัติเขียวและน้ำเงิน (Green and Blue Revolution)
รูปแบบธุรกิจการเกษตรมุ่งกำไรด้วยการผลิตอาหารจำนวนมากที่เป็นสารพิษให้พวกเรา ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน การทำลายป่าในพื้นที่ชนบท มีสารปนเปื้อนในน้ำและทะเล และทำลายการประมง ผลผลิตสาธารณะที่สำคัญจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสินค้า โดยการเพิ่มต้นทุนการผลิตเพื่อจะทำให้ผู้ผลิตรายย่อยสูญหายไปจากโลก เมล็ดพันธุ์ของเกษตรถูกขโมยและส่งกลับมาขายในราคาที่แพงลิบลิ่ว พันธุกรรมก็จะมีราคาสูง และปนเปื้อนเคมี ระบบอาหารแบบอุตสาหกรรมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติร้ายแรงขึ้น ทั้งขับเคลื่อนไปพร้อมๆกันกับ ภูมิอากาศ อาหาร สิ่งแวดล้อม และวิกฤติด้านสาธารณสุข
การหาทางออกที่ผิดพลาด ของการค้าเสรีและข้อตกลงทางการค้า เช่น ตลาดคาร์บอน และ การเติบโตขึ้นของการส่งเสริมธุรกิจด้านอาหาร และที่ดิน เป็นการซ้ำเติมวิกฤติเหล่านี้ให้เลวร้ายขึ้น ซึ่งระบบการเกษตรแบบเกษตรนิเวศภายใต้กรอบอธิปไตยทางอาหาร จะเป็นทางออกให้เราหลุดพ้นจากวิกฤติเหล่านี้ไปได้
เกษตรนิเวศบนทางแยก
ระบบอาหารแบบอุตสาหกรรมกำลังเริ่มส่งผลให้ผลผลิตและศักยภาพทางกำไรลดลง ทั้งนี้เป็นเพราะความขัดแย้งภายในของมันเอง เช่น การเสื่อมสภาพของดิน วัชพืชที่ดื้อยา สัตว์น้ำที่ร่อยหรอลงไป แมลงศัตรูพืชและโรคระบาดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และยังมีหลักฐานหลายอย่างที่บ่งบอกถึงผลกระทบในแง่ลบออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับลำไส้ และวิกฤติโรคมะเร็ง ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากอาหารที่ผลิตออกมาเป็นแบบอุตสาหกรรม
จากการกดดันอย่างกว้างขวาง ทำให้สถาบันพหุภาคีต่างๆ ทั้งรัฐบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรความร่วมมืออื่นๆต่างก็ยอมรับเกษตรนิเวศ ว่าถ้ามองว่าเป็นชุดเทคโนโลยีเฉพาะ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบรรเทาวิกฤติที่มีมายาวนานนี้ได้ และยังสอดรับกับโครงสร้างของอำนาจที่มีอยู่ในขณะนี้ด้วย และเห็นพ้องว่าระบบนิเวศเกษตรจะช่วยปรับปรุงระบบอาหารแบบอุตสาหกรรมได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเห็นดีด้วยกับวาทกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่น เกษตรกรรมที่ที่เท่าทันกับสภาพภูมิอากาศ (Climate smart agriculture) ความยั่งยืน (Sustainable) หรือ นิเวศวิทยาแบบเข้มข้น (Ecological intensification) และ อาหารอินทรีย์ที่เป็นผลผลิตจากการผลิตจากอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยว สำหรับพวกเราแล้วทั้งหมดที่กล่าวมาหาใช่นิเวศเกษตรไม่ พวกเราปฏิเสธวาทกรรมเหล่านั้น และพวกเรายังจะต่อสู้เพื่อเปิดโปง และขัดขวางความร้ายกาจที่มาเคลือบแฝงอยู่กับระบบเกษตรนิเวศ
ทางออกที่แท้จริงอาจจะไม่ได้มาจากรูปแบบการพัฒนาการเกษตรนิเวศให้สอดคล้องกับระบบอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอาหารแบบท้องถิ่นที่เป็นการสร้างความเชื่อมโยงใหม่ระหว่างชนบทและเมืองต่างหากที่เป็นทางออก โดยอยู่บนฐานการผลิตอาหารที่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย ชาวประมง ผู้เลี้ยงสัตว์ ชนพื้นเมือง เกษตรกรที่เป็นชาวเมือง เป็นต้น เราไม่สามารถจะยอมรับได้ว่าระบบเกษตรนิเวศ คือเครื่องมือที่จะยืดอายุรูปแบบการผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรม แต่อยากที่จะเห็นว่ามันเป็นเครื่องมือ เป็นทางเลือกที่จำเป็นสำหรับรูปแบบดังกล่าว และยังเป็นเครื่องมือที่จะเปลี่ยนการผลิตและการบริโภคอาหารไปสู่สิ่งที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติและโลกของเรา
มีต่อ… แถลงการณ์การประชุมนานาชาติเรื่องเกษตรนิเวศ (2)
พูลสมบัติ นามหล้า : ผู้แปล