คน ข้าว นาควาย ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้าวและชาวนาไทย ในกระแสการเปลี่ยนแปลง
บทนำเสนอเฉพาะเรื่อง : การทำนาระบบนาอินทรีย์ โดย ชลิตา บัณฑุวงศ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิชาการท่าว่าด้วย ข้าวและชาวนาไทย ในกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอเพียงประเด็น “การทำนาระบบเกษตรอินทรีย์” ในบทความทางวิชาการ “ข้าวและชาวนาไทย ในกระแสการเปลี่ยนแปลง” หากผู้อ่านสนใจบทความทางวิชาการดังกล่าว กรุณาค้นคว้าเพิ่มเติมที่ (คลิก)
การทำนาระบบนาอินทรีย์
ขณะที่ชาวนำส่วนใหญ่ทำนำเคมี ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาการทนำอินทรีย์ในฐานะกระแสทางเลือก เริ่มขยายตัวในหมู่ชาวนา พร้อมๆ กับที่ข้าวอินทรีย์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคคนชั้นกลาง ระบบเกษตรอินทรีย์เป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมทางเลือกหรือเกษตรกรรมยั่งยืน ที่ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นทำงออกของวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อันเป็นผลมากจากการทำเกษตรเคมี รวมทั้งทางออกจากความไม่เป็นธรรมของระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เกษตรกรมักถูก เอารัดเอาเปรียบ สำหรับในประเทศไทยการบุกเบิกเกษตรกรรมอินทรีย์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิต การตลาด การตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้เริ่มต้นจากการผลักดันขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรใน พื้นที่ จ.สุรินทร์ จ.ยโสธร และ จ.เชียงใหม่ จนสามารถพัฒนาตลาดเกษตรอินทรีย์ทั้งในประเทศและตางประเทศ และสามารถผลักดันเกษตรอินทรีย์สู่นโยบายระดับประเทศ ดังในกรณีแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชำติ พ.ศ. 2551-2554 เป็นต้น
จากการสำรวจของสหกรณ์กรีนเนท จำกัด พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 0.212ล้านไร่ ใน ปี พ.ศ. 2553 หรือคิดเป็น 0.162% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของประเทศซึ่งมีอยู่ 131.27 ล้านไร่ และมีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ 7,405 ฟาร์ม หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.145%จากจำนวนฟาร์มทั้งหมดในประเทศ 5,100,000 แห่ง เฉพาะข้าวอินทรีย์มีพื้นที่ปลูก 138,328.03 ไร่ (www.greennet.or.th/article/411) ในจำนวน นี้ มีทั้งที่ปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยที่รวมตัวกันภายใต้การสนับสนุนขององค์กร พัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคมและมีทั้งที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการธุรกิจ อาหารและการเกษตรหลังจากที่เริ่มมองเห็นว่าสินค้ำเกษตรอินทรีย์มีความสามารถ ในการแข่งขันในต่างประเทศได้ดี สำหรับผู้ประกอบการในภาคธุรกิจมีทั้งที่ทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ด้วยตนเองและ ที่ให้เกษตรกรที่รับจ้างการผลิตให้
ผลการสำรวจนี้ยังระบุว่า ในส่วนของภาครัฐ แม้จะมีนโยบายระดับชาติด้านเกษตรอินทรีย์และมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ในเรื่องนี้ไปแล้วราว 1.75 ล้าน หรือประมาณ 34%ของครอบครัวเกษตรกรในประเทศไทย (ยอดรวม ณ ปี พ.ศ.2553) รวมทั้งได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรด้วย แต่การดำเนินงานเหล่านี้มีผลน้อยมากต่อการหันมาทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ที่สำคัญคือนโยบายการประกันราคาข้าวเปลือกที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมาที่กำหนดราคาประกันค่อนข้างสูงกว่าราคาตลาดมาก ได้ส่งผลทำให้องค์กรชุมชนและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ต้องรับซื้อข้าว เปลือกเกษตรอินทรีย์ (ส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ) จากเกษตรกรในราคาสูงกว่าราคาประกันของรัฐบาลทำให้ต้นทุนผลผลิตเกษตรอินทรีย์ สูง การส่งออกจึงชะลอตัว ในขณะเดียวกัน เกษตรกรจำนวนหนึ่งเริ่มแสดงความไม่พึงพอใจกับรำคำรับซื้อข้าวเปลือกเกษตร อินทรีย์ทีมีความต่างจากราคาข้าวเปลือกทั่วไปไม่มากนัก ทำให้มีเกษตรกรจำนวนน้อยรายที่สนใจที่จะปรับเปลี่ยนมาสู่การทำอินทรีย์คน
น่าสนใจว่าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมโดยเอ็นจีโอไทย เป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรมชุมชนนิยมและวัฒนธรรมชุมชน ที่เน้นการเชิดชูความพอเพียงและการพึ่งตนเองของชุมชน และปฏิเสธบริโภคนิยม ทุนนิยมและอุตสาหกรรมนิยม (เนตรดาว เถาถวิล 2554) ดังที่ระบุไว้นิยาม “เกษตรอินทรีย์” โดยมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ที่ว่า “หาก เกษตรอินทรีย์พัฒนาไปในทิศทางที่มุ่งเน้นการค้ำเป็นหลัก มุ่งผลิตพืชเชิงเดี่ยว หรืออยู่ภายใต้ระบบและการผูกขาดของบริษัทขนาดใหญ่ แทนที่จะมุ่งในเรื่องของความมั่นคงด้านอาหาร การทำเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ก็จะไม่ถือว่าเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แท้จริ และผิดหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน” (sathai.org/th/about-saft/sapattern/item/65-organic-farming.html) นอกจากนั้น เกษตรอินทรีย์ยังมักถูกเชื่อมโยงเข้ากับความมีศีลธรรมความเป็นคนดี รวมทั้งขบวนการหรืออุดมการณ์ทางศาสนาดังกรณีสันติอโศกและการผลิต “ข้าวคุณธรรม” ด้วย สิ่งนี้ดูจะย้อนแย้งกับสภาพความเป็นจริงที่ว่าการขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ใน ประเทศไทยล้วนเป็นผลมาจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตข้าวอินทรีย์กับตลาดสามารถเกิดขึ้นได้ ผ่านช่องทางการค้าและความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเกษตรอินทรีย์ยังเป็นระบบการเกษตรเชิงพาณิชย์ที่มีการลงทุนสูง มีการแข่งขันในระบบตลาดอย่างเข้มข้น เพราะเป็นการปรับตัวเข้าสู่ระบบการผลิตสินค้ำเกษตรที่มีมูลค่ำสูง (เนตรดาว เถาถวิล 2554) ที่สำคัญต้องมีการรักษามาตรฐานการผลิตตามหลักสากลอย่างเข้มงวด มีการตรวจแปลงนำเกษตรเพื่อควบคุมบริหารจัดการฟาร์มและผลผลิตเพื่อสร้างความ เชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการส่งออกไปยังผู้ บริโภคต่างประเทศ (www.greennet.or.th/article/1411)
ปัจจุบันเริ่มมีการตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงการนำเสนอภาพการทำนาอินทรีย์ในเชิงอุดมคติขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาค ประชาสังคม ในฐานะที่เป็นระบบแห่งการพึ่งตนเองที่สามารถช่วยให้ชาวนาพ้นจากความยากจน โดยอ้างว่าการทำนาอินทรีย์มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าและสามารถขายได้ในราคาดี กว่า ทั้งที่จริงแล้วการทำนาอินทรีย์ก็คือการทำเกษตรพันธะสัญญาในรูปแบบหนึ่ง แม้บางส่วนจะดำเนินการโดยกลุ่ม/องค์กรชุมชนที่เอ็นจีโอหรือภาคประชำสังคม เข้าไปส่งเสริมก็ตาม อีกทั้งยังมีต้นทุนค่ำแรงสูงเพราะต้องใช้แรงงานและควบคุมแรงงานเข้มข้น (เช่น ในการถอนกล้า ดำนำ ถอนวัชพืช) เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แต่ทั้งนี้ ชาวนามักไม่คำนวณค่าแรงของตัวเองว่าเป็นต้นทุน จึงเท่ากับว่าพวกเขาขูดรีดแรงงานตัวเอง และหากคำนวณค่ำแรงของคนในครัวเรือน การทำนาอินทรีย์ก็จะเหลือผลกำไรที่ต่ำมาก (เนตรดาว เถาถวิล 2554) นี่ยังไม่นับรวมความเครียดและความขัดแย้งภายในชุมชนจากการที่ต้องอยู่ภายใต้กฎข้อบังคับที่เข้มงวดของการทำเกษตรอินทรีย์ที่ต้องเน้นอาหารปลอดภัย การรักษาสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิของสัตว์ เลี้ยง ตลอดจนความเครียดจากความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธซื้อผลผลิตหรือการถูกกดราคาหาก ผลผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน (ดูธนพร ศรีสุกใส 2554) ที่สำคัญ ครัวเรือนที่ทำนาอินทรีย์ได้ใช้กลยุทธ์ของการสร้างความหลากหลายในการดำรงชีพ เพื่อให้ครัวเรือนอยู่รอดได้ ท่ามกลางแรงกดดันทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ พวกเขาหารายได้จากกิจกรรมหลายรูปแบบทั้งการทำนาอินทรีย์และนำเคมี การปลูกข้าวหลายๆ ชนิด ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ทำนาทั้งในที่ดินของตนเองและที่ดินเช่า พร้อมกับการหารายได้จำกนอกภาคเกษตร เช่น รับจ้าง ค้ำขาย ทำธุรกิจส่วนตัว รับราชการ นี่หมายความว่าเกษตรอินทรีย์ไม่ได้เป็นหนทางเดียวในปลดเปลื้องความยากจน นอกจากนั้นก็ยังดูเหมือนว่ามีเพียงชาวนารวยและชาวนาฐานะปานกลางที่มีศักยภาพ ในการเข้าถึงที่ดิน ทุน และแรงงานมากกว่าเท่านั้น ที่จะได้รับประโยชน์จากการทำเกษตรอินทรีย์ โดยสามารถสะสมทุนและปรับตัวให้อยู่รอดในระบบเกษตรอินทรีย์ได้อย่างมั่นคง ขณะที่ชาวนายากจนผู้มีที่ดินน้อยมักล้มเหลวและต้องออกจากระบบเกษตรอินทรีย์ ไปในที่สุด โดยเฉพาะในรายที่มีทุนไม่มากพอจะพยุงฐานะทางเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีแรกของการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ อันเป็นช่วงเวลาที่ผลผลิตยังได้น้อยอยู่ รวมทั้งในรายที่แหกกฎมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เมื่อครอบครัวมีวิกฤติเศรษฐกิจ จึงต้องการผลผลิตข้าวมากกว่าที่เคยได้จากการทำนำอินทรีย์มาแก้วิกฤติของครอบ ครัว (เนตรดาว เถาถวิล 2554) แม้ว่าเกษตรอินทรีย์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีไม่ถึง 1% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของประเทศ การที่เกษตรกรจำนวนมาก ไม่ทำเกษตรอินทรีย์หรือไม่สามารถทำจนประสบผลสำเร็จ ไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาขาดความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการเกษตรแบบเคมี หรือเพราะพวกเขาขาดจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมและละโมบโลภมาก หากแต่เป็นเพราะมีเงื่อนไขแรงกดดันจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของคนยากจนที่มีที่ดินน้อยและการทำงานรับจ้างนอกภาคเกษตรมี ความสำคัญต่อกำรอยู่รอดของครัวเรือน พวกเขาจึงไม่สามารถใช้เวลายาวนานและแรงงานเข้มข้นในแปลงนำได้ การทำนาสมัยใหม่ด้วยวิธีการหว่านและใส่ปุ๋ยเคมีที่สามารถจัดการได้รวดเร็ว จึงสอดคล้องกับเงื่อนไขการดำรงชีพมากกว่า แม้สำหรับชาวนาที่มีฐานะปานกลางเองก็ตาม การจะตัดสินใจทำนาอินทรีย์ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขจำนวนมาก ผู้ทำนารายหนึ่งซึ่งเป็นอดีตนักพัฒนาเอกชนกล่าวถึงเงื่อนไขที่ทำให้เธอและ สามีตัดสินใจทำนาลดต้นทุนแทนที่จะทำนาอินทรีย์ ใน นาเช่าเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่ 3 อันประกอบ ด้วยเงื่อนไขการเช่าที่ดินที่เจ้าของที่ดินกำหนดให้ต้องทำการผลิตสองครั้ง ต่อปี การเลือกช่วงเวลาการเพาะปลูกที่ต้องสัมพันธ์กับจังหวะการปล่อยน้ำจากระบบชล ประทานซึ่งโยงกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดระเบียบการปลูกข้าว รวมทั้งการที่ต้องเร่งเก็บเกี่ยวให้ทันก่อนที่น้ำธรรมชำติจะหลากมาท่วมทุ่ง สิ่งเหล่ำนี้สัมพันธ์กับการเลือกพันธุ์ข้าวที่มีช่วงเวลาการให้ผลผลิตที่ เหมาะสมกับจังหวะของน้ำ รวมทั้งต้องสอดคล้องกับเกณฑ์การรับ จำนำหรือประกันราคาของรัฐบาลด้วย สำหรับเธอแล้วนั้นเกษตรอินทรีย์มีต้นทุนสูงกว่าการทำนาลดต้นทุน เนื่องจากต้องมีช่วงเวลาบำรุงดินด้วยเทคนิคธรรมชำติต่าง ๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับจังหวะของน้ำดังที่กล่าวไปแล้ว นอกจากนั้นการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ก็มักให้ผลผลิต่ำหรือหากปลูกข้าว อินทรีย์พันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิก็มักมีปัญหาเรื่องตลาดที่ยังไม่ กว้าง จำหน่ายสินค้าได้น้อยและยุ่งยากในการจัดการผลผลิต